รีวิว Juvenile Justice
เรื่องย่อ Juvenile Justice
ณ ตอนนี้ ซีรีส์จากเกาหลีใต้อย่าง ‘Juvenile Justice’ หรือ ‘หญิงเหล็กศาลเยาวชน’ ซีรีส์ Netflix Original เรื่องใหม่ที่เพิ่งเข้าฉายเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กลายเป็นซีรีส์กระแสแรงที่กำลังติดอันดับหนึ่งอยู่ในตอนนี้ครับ และกระแสก็กำลังมาแรงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งซีรีส์เรื่องนี้เป็นผลงานการกำกับของ ‘ฮงจงชัน’ (Hong Jong-Chan) ที่เคยมีผลงานกำกับซีรีส์มาหลายต่อหลายเรื่อง คราวนี้ เขาขอหยิบมุมมองเกี่ยวกับกฏหมาย โดยเฉพาะแง่มุมที่แทบไม่มีใครเคยหยิบจับมาก่อนอย่าง
‘กระบวนการยุติธรรมคดีเยาวชน’ มาเล่าผ่านซีรีส์เรื่องนี้ ผ่านมุมมองการเขียนบทของ ‘คิมมินซอก’ (Kim Min-Seok)ตัวซีรีส์โดยรวมเล่าด้วยพล็อตแบบ ‘Courtroom Drama’ หรือเรื่องราวเกี่ยวกับการพิจารณาคดีความในชั้นศาลนั่นแหละนะครับ แต่ที่พิเศษและแตกต่างออกไปนั่นก็คือ เป็นซีรีส์ที่เจาะจงเล่าถึงกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวกับการพิจารณาคดีเยาวชนโดยเฉพาะ
เพราะตามหลักกฏหมายแล้ว เยาวชนที่อายุไม่เกิน 14 ปี จะต้องถูกตัดสินคดีตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชน
ซึ่งจะมีโทษสูงสุดคือ คุมประพฤติระดับ 10 จนกระทั่ง ‘ชิมอึนซอก’ (Kim Hye-soo) ผู้พิพากษาสาวผู้เย็นชาเพราะแอบซ่อนอดีตขมขื่นไว้เบื้องหลัง ได้ย้ายเข้ามาทำงานเป็นผู้พิพากษาคนใหม่ของ ‘ศาลแขวงแผนกคดีอาญาเด็กและเยาวชนเขตยอนฮวา’
เธอจึงถือโอกาสนี้ ล้างบางวิธีการพิจารณาคดีเยาวชน ที่ปกติแล้วมักจะไม่ค่อยซับซ้อน และมักจะตัดสินคดีกันอย่างรวดเร็ว และไม่ได้ตัดสินดำเนินคดีหนักเท่ากับคดีผู้ใหญ่ ด้ายมอตโตประจำตัวเธอก็คือ “ฉันเกลียดอาชญากรเด็ก”ดูหนังออนไลน์
เธอจึงยืนกรานที่จะตัดสินคดีเยาวชนแบบล้วงลูกตามวิธีการของเธอเองด้วยมุมมองที่ว่า เธอต้องการที่จะตัดสินคดีให้เยาวชนผู้กระทำผิดได้รับโทษอย่างสาสม สำนึกในความผิด และเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่เกรงกลัวกฏหมาย พร้อมกับการปกป้องเหยื่อ (และญาติ) ผู้เคราะห์ร้าย ให้ได้รับความยุติธรรมอย่างถึงที่สุด
แม้ว่าในอีกมุมหนึ่ง มันก็ดูจะขัดกับอุดมการณ์ของศาลเยาวชนแห่งนี้ ที่มอง (จากมุมของกฏหมาย) ว่า แม้จะกระทำผิดร้ายแรงแค่ไหน แต่เยาวชนที่กระทำผิดก็ต้องได้รับการฟื้นฟู กล่อมเกลา ให้โอกาสที่สองแก่ผู้กระทำผิด เพื่อไม่ให้กลับมากระทำผิดซ้ำ และกฏหมายก็ไม่มีสิทธิ์ตัดสินคดีเยาวชนด้วยบรรทัดฐานแบบคดีผู้ใหญ่ ที่เน้นการลงโทษให้เข็ดหลาบและเกรงกลัวกฏหมาย ซึ่งไอ้ช่องโหว่ตรงนี้แหละ ที่กลายเป็นว่า ทำให้อาชญากรเด็กบางคนก็ดีใจเสียด้วยซ้ำ เพราะสุดท้ายก็มักจะลงโทษสถานเบา และไม่ต้องติดคุก
ซึ่งก็ทำให้คนในกระบวนการยุติธรรมพลอยแอบใส่เกียร์ว่าง ไม่ยอมตัดสินคดีด้วยการพิจารณาคดีจากหลักฐาน แต่ใช้วิธีตัดสินคดีตามเนื้อผ้า ใช้กฏหมายตัดสินคดีให้พอผ่าน ๆ ไป เพราะกลัวคดีจะล้นมือ ยุ่งยาก และเจอตอโดยใช่เหตุ ผู้พิพากษาชิมอึนซอก ก็เลยต้องออกล้วงลูกคดีด้วยตัวของเธอเอง ซึ่งตลอดทั้ง 10 ตอนก็จะมีการแบ่งเป็นคดีต่าง ๆ
ออกเป็นคดีละประมาณ 1-2 ตอนโดยเฉลี่ย และเนื้อหาในแต่ละคดีก็จะมีความคาบเกี่ยวเนื้อหาต่อกันไปเรื่อย ๆ
ซึ่งเราก็จะได้เห็นชิมอึนซอก ทำหน้าที่ผู้พิพากษาด้วยการใช้หลักฐาน และตัดสินด้วยกฏหมายแบบแรง ๆ สั่งสอนอาชญากรเด็กเหล่านั้นให้เข็ดหลาบ
สิ่งแรกที่ผู้เขียนประทับใจโดยรวม ๆ ของทั้ง 10 ตอน และถือว่าเป็นจุดแข็งอย่างหนึ่งของซีรีส์เรื่องนี้เลยก็คือ การเดินเรื่องที่กระชับฉับไวครับ แม้ว่าตัวซีรีส์เองจะมีทั้งหมด 10 ตอน เฉลี่ยตอนละประมาณ 1 ชั่วโมงนิด ๆ แล้วแถมในซีรีส์ก็เต็มไปด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับกฏหมาย และกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับด้านของการดำเนินคดีเด็กและเยาวชน
ซึ่งมีความซับซ้อนและเฉพาะด้านมาก ๆ ตามสไตล์พล็อตแบบ Courtroom Drama นั่นแหละ แต่ตัวซีรีส์สามารถปูเรื่อง เดินเรื่อง ดึงหาจุดไคลแม็กซ์ที่อยู่ในแต่ละตอน และขมวดสรุปจบได้อย่างกระชับ
ไม่ยอมทิ้งให้คนดูรู้สึกเนือยหนืด
ซึ่งก็ต้องชื่นชมความประทับใจที่ 2 ต่อเลยครับว่า ตัวหนังทำการบ้านมาได้ละเอียดและรอบด้านมาก คือไม่ใช่แค่ทำการบ้านเรื่องกฏหมายและกระบวนการยุติธรรมของศาลเยาวชนว่ามีขั้นตอนอย่างไรเพียงเท่านั้น
แต่ยังค้นลึกไปถึงเรื่องของมิติและประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องและส่งผลโดยตรงต่อการเกิดคดีเยาวชน ทั้งเรื่องของครอบครัว
การเลี้ยงดู ทัศนคติ ความคิดเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องของกระบวนการตัดสินคดีเยาวชน รวมถึงมุมมอง และอุดมการณ์ และทัศนคติของคนภายในกระบวนการยุติธรรมคดีเยาวชนด้วย ซึ่งมันก็สะท้อนผ่านเนื้อเรื่องแต่ละตอนที่ทำออกมาได้สนุก กระชับ เห็นภาพ และล้วงลึกรวมทั้งการเล่าเรื่องการดำเนินคดีในศาลเยาวชน ซึ่งจริง ๆ
แล้วแม้ตัวหนังจะดำเนินตามสูตร Courtroom Drama ที่เอาจริง ๆ ถ้าเทียบกับหนังดราม่าตัดสินคดีความเรื่องอื่น ๆ ก็ถือว่ายังทำได้ดรอปกว่านะครับดูหนัง
อาจจะเพราะว่ามันเป็นคดีเยาวชนที่ปกติแล้วกระบวนการมันไม่ได้ซับซ้อนซ่อนเงื่อนเท่ากับคดีผู้ใหญ่ และรายละเอียดการตัดสินคดีก็ไม่ได้เยอะเท่า รวมทั้งความแรงของคดีก็ไม่เท่ากับคดีผู้ใหญ่ด้วยแหละ
โดยเฉพาะการเล่าเรื่องมุมมองเกี่ยวกับอาชญากรรมเด็ก ที่ถือว่าเป็น Conflict ใหญ่ของเรื่อง ที่ฝั่งหนึ่งมองว่า เยาวชนทุกคนควรได้รับการดูแล แม้ว่าจะกระทำผิด การส่งเสริมให้เด็กเหล่านั้นกลับตัวกลับใจ และไม่หวนกลับไปทำผิดอีกจึงสำคัญมาก แต่ในมุมของผู้พิพากษาชิมอึนซอก เธอกลับมองว่า เด็กก็คือคนคนหนึ่งนี่แหละ ที่สมควรจะรับโทษตามกฏหมายอย่างเคร่งครัด
หากสังคมและครอบครัวไม่สามารถดูแลเด็กให้กลายเป็นคนดีได้
แต่ตัวเรื่องก็ยังพอจะทดแทนได้ด้วยความสนุกและความโหดของ Crime Scene ในบางคดี การบุกตะลุยออกไปล้วงลูกไขคดีของชิมอึนซอก ฉากปะทะคารมที่สนุก ตึงเครียดสุด ๆ ไม่แพ้ฉากแอ็กชัน และฉากดราม่าที่โคตรสะเทือนและบีบหัวใจเข้ามาแทน ซึ่งนั่นก็แปลว่า ตัวบททำการบ้านมาได้โคตรละเอียด และบทก็ทำงานได้ในระดับที่ค่อนข้างจะดีเลยแหละดูหนัง4k
ในขณะที่สังคมกับเผชิญหน้ากับปัญหาอาชญากรรที่ผู้ก่อเหตุยังเป็นเพียงเยาวชนที่อายุน้อยลงเรื่อยๆ ความรุนแรงและโหดเหี้ยมยิ่งส่งผลกระทบต่อเหยื่อ และผู้ก่อเหตุมักจะหาลู่ทางในการหลบเลี่ยงการถูกลงโทษ จึงต้องพึ่งพาผู้พิพากษาที่มีบุคคลอันเชียบขาด อย่าง ซิมอึนซอก ที่เป็นนักกฎหมายที่ดูท่าทางไม่เป็นมิตรกับผู้ใด และเธอก็รู้สึกเกลียดพวกผู้ต้องหาเยาวชนเป็นที่สุด
แต่กระนั้นเธอก็ได้รับมอบหมายจากคำสั่งของเบื้องบน ให้ไปช่วยดูกระบวนการต่างๆ ที่ศาลเยาวชนท้องถิ่น การมาเยือนของเธอนั้นได้กลายเป็นการปฏิรูปครั้งใหญ่ เธอจำเป็นต้องฝ่าฝืนธรรมเนียมปฏิบัติเดิมที่คุ้นเคย และใช้กระบวนการกฎหมายด้วยแนวทางและรูปแบบของเธอเอง เพื่อพิพากษาและมอบบทลงโทษแก่ผู้กระทำผิดในคดีต่างๆ ที่ล้วนแต่ได้ชื่อว่าเป็น…อนาคตของชาติ
รีวิว Juvenile Justiceนักแสดง
คิมฮเยซู รับบท ซิมอึนซอก
คิมมูยอล รับบท ชาแทจู
อีซองมิน รับบท คังวอนจุง
อีจองอึน รับบท นากึนฮี
พัคจงฮวัน รับบท โกกังซิก
พัคจียอน รับบท อูซูมี
ชินแจฮวี รับบท ซอบอม
กึมกวังซาน รับบท กยองจุงฮันดูหนังออนไลน์4k
บทสรุป
เรื่องราวในคดีแรกเรียกว่าจุดไฟให้ผู้ชมติดได้แน่ๆ เพราะมันเป็นอะไรที่จับต้องได้เป็นจริงในปัจจุบัน และส่วนใหญ่ก็คงมองเห็นว่าเป็นความไม่ยุติธรรมทางกฎหมายที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขในหลายๆ ประเทศ รวมถึงไทยด้วย ซึ่งตัวเรื่องเปิดประเด็นเรื่องการแก้กฎหมายเรื่องนี้ไว้ว่า ควรยกเลิกไปเลยใช้กฎหมายเดียวกับผู้ใหญ่
หรือเพิ่มบทลงโทษให้รุนแรงขึ้น หรือควรเน้นเพิ่มจำนวนความช่วยเหลือกับเด็กมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งตัวเรื่องพยายามเล่นปมนี้สอดแทรกไว้ตลอด
เพื่อนำมาใช้เป็นเรื่องราวใหญ่ในตอนหลัง (แต่ไม่ใช่ไคลแม็กซ์ของเรื่อง) เนื้อเรื่องหลังจากนี้ก็เลยเป็นการสำรวจโลกของงานในศาลคดีเยาวชนมากกว่า ซึ่งก็กลายเป็นเรื่องจากที่ขึ้นต้นได้แรงพีคสุดๆ กลับเล่นคดีเบาลงมาทันที
โดยคดีสองเป็นการเยี่ยมชมตรวจสอบศูนย์ฟื้นฟูอาชญากรเด็ก ที่เหมือนบ้านพักดูแลจิตใจเด็กต่าง ไปจากสถานพินิจ สำหรับเด็กที่ไม่ได้มีโทษแรง ซึ่งเรื่องราวก็กลายเป็นไปเจอปมทุจริตในบ้านพัก รวมถึงปัญหาครอบครัวทอดทิ้งเด็ก การหลงทางของเด็กสาวที่สุดท้ายนำไปสู่การขายตัว เนื้อเรื่องในเคสต่อมาลดโทนความรุนแรงลงแบบฮวบฮาบทันที ซึ่งก็เข้าใจได้ว่าต้องการเปลี่ยนอารมณ์ให้หลากหลาย เพราะคดีของเด็กไม่ใช่มีแต่โหดๆ แบบตอนแรก
และการนำเสนอปัญหาสังคมรอบด้านก็ทำให้ซีรีส์เรื่องนี้ดูจริงจังกับประเด็นการแก้ไขปัญหา มากกว่าเป็นเรื่องแต่งเอาโหดดิบคดีแรงขึ้นๆ อย่างที่ก่อนมาดูเข้าใจว่าแบบนั้น ซึ่งก็อาจจะดูไม่ยุติธรรมต่อเยาวชนได้เหมือนกันถ้านำเสนอไปในทิศทางเดียวแบบนั้นแต่ความเบาของเรื่องก็เรียกว่าลดลงตามลำดับคดีเลย
เคสต่อจากนี้เป็นเรื่องการทุจริตโกงข้อสอบที่มีลูกหลานคนใหญ่โตมาเกี่ยวข้อง ซึ่งพล็อตแบบนี้ถือว่าเกร่อมาก แต่เรื่องนี้ก็ลากเอาปมเรื่องนี้มาเกี่ยวพันกับหัวหน้าของเธอรีวิวซีรี่ย์
ซึ่งกำลังจะลงสมัครเป็น สส. ตัวเคสนี้แม้จะมีความกดดันขัดแย้งกับหัวหน้าของนางเอกที่ทำให้เรื่องดูเครียดกดดันกับการทำงาน
แต่ในแนวทางของเรื่องที่พุ่งเป้าไปที่ความรุนแรงของอาชญากรเด็กดูเหมือนจะหลุดไปเลย ไปเน้นที่ปัญหาของผู้ใหญ่ที่ทำให้เด็กต้องมาทุจริตในการเรียนแทน แม้ประเด็นกับเจตนาของเรื่องจะดี แต่พล็อตมันเกร่อมาก แล้วก็ไม่มีอะไรพลิกด้วย บทเป็นไปตามสูตรทั่วไปที่คาดเดาได้อยู่แล้ว ทำให้กลายเป็นตอนที่เหมือนช่วงขาลงของซีรีส์
และตอนต่อจากนี้ก็ยิ่งตอกย้ำตรงนี้เข้าไปอีก เมื่อเปิดมาด้วยคดีกลุ่มเด็กไม่มีใบขับขี่ขับรถชนคนตาย ดูเหมือนจะเป็นคดีทีมีอะไรแรงๆ ให้ได้เล่น แต่เรื่องกลับหันไปโฟกัสที่ความบาดหมางกับตัวหัวหน้าคนใหม่ของนางเอกแทน ก่อนที่จะจบลงแบบง่ายๆ ไม่มีอะไรเลย
ซึ่งในตอนที่ผ่านๆ มาเรื่องก็มักจะเคลียร์ปมแบบจู่ๆ ก็มีหลักฐานใหม่เข้ามาทำให้ปิดคดีได้ทันที แต่อย่างตอนนี้เป็นอะไรที่ง่ายกว่านั้นอีก กลายเป็นตอนที่จบแบบทิ้งๆ ขว้างๆ เพียงแค่ต้องการจุดปมในอดีตของนางเอกกับหัวหน้าคนใหม่เท่านั้นตัวบทต่อจากนี้พยายามจะเล่นปมอดีตความลับของนางเอกที่ทำไมเธอถึงโกรธแค้นอาชญากรเด็กขนาดนี้
แต่พอเรื่องเฉลยออกมาว่าเกี่ยวข้องยังไงกับหัวหน้าคนใหม่ กลายเป็นอะไรที่ค่อนข้างอ่อนมาก คือเจตนาของการเล่นปมความผิดพลาดของผู้พิพากษารุ่นเก่าน่ะดีอยู่ แต่มันกลับดูเป็นอะไรที่เฟคมักง่ายแบบชุ่ยๆ เลยก็ว่าได้ว่าผู้พิพากษาระดับนี้เป็นแบบนี้
กลับต้องให้นางเอกมาสอนการทำงาน สอนทัศนคติที่ดูแล้วย้อนแย้งในตัวเอง ย้อนแย้งกับความจริงของการทำงานผู้พิพากษาด้วย ซึ่งตัวเรื่องพยายามกลับมาบิ้วให้คดีสุดท้ายมีความแรงขึ้นมาหน่อย แต่ก็ยังเทียบไม่ได้กับคดีแรก แล้วให้คดีนี้ดูมีแอ็กชั่นการสืบสวนที่เข้มๆ ขึ้นมาจากช่วงก่อน แต่กลับเหมือนซีรีส์ยิ่งทำยิ่งเลอะ
อะไรหลายๆ อย่างไม่สมเหตุผลเอามากๆ เพียงแค่ต้องการสร้างฉากดราม่าตามสไตล์เกาหลีเท่านั้น แต่มันเฟคสุดๆ จนกระทั่งฉากว่าความสุดท้ายของเรื่องเลย